แบตเตอรี่ลิเธียมในรถโฟล์คลิฟท์ VS Carbon Footprint

แบตเตอรี่ลิเธียมในรถโฟล์คลิฟท์ Carbon Footprint.png

ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 บริษัทฯ แบตเตอรี่ลิเธียมรถโฟล์คลิฟท์ ได้ร่วมบรรยายในงาน

SETA 2024 บนเวที Knowledge Hub ที่ไบเทคบางนา โดยนายเตชินท์ ถิรมงคลชัย

กรรมการผู้จัดการ ขึ้นบรรยายในหัวข้อ “แบตเตอรี่ลิเธียมในรถโฟล์คลิฟท์ VS Carbon Footprint”

ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมและการลดการปล่อยคาร์บอน

นายเตชินท์ ถิรมงคลชัย (กรรมการผู้จัดการ)

ในยุคที่หลายประเทศได้ตั้งเป้าหมาย

“Carbon Neutrality 2050”

เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็น

ศูนย์ภายในปี 2050 การตระหนัก

ถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและ

การร่วมมือกัน เพื่อลดการปล่อย

คาร์บอนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด ได้แก่

  • จีน เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งถึง 26.1% ของการปล่อย

คาร์บอนทั้งหมด

  • สหรัฐอเมริกา อยู่ในอันดับที่ 2 โดยมีการปล่อยคาร์บอนคิดเป็น 12.6%
  • สหภาพยุโรป อยู่ในอันดับที่ 3 โดยมีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 7.5%

ส่วน ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 19 ของโลกในด้านการปล่อยคาร์บอน โดยมีสัดส่วนการปล่อย

คาร์บอนประมาณ 0.88% ของการปล่อยทั้งหมด

สรุป

ข้อมูลนี้เน้นถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีการปล่อย

คาร์บอนสูง เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อ

สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ การลดการปล่อยคาร์บอนจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษา

สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของโลกในอนาคต

ประสิทธิภาพและการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธียม

  • แบตเตอรี่ลิเธียมสามารถชาร์จได้เร็วและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าตะกั่ว-กรด ทำให้

ลดความต้องการในการเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยครั้ง

  • แบตเตอรี่ลิเธียมไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก เช่น การเติมน้ำกลั่น ทำให้ใช้งานได้สะดวกและ

ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

 การจัดการพลังงาน

ระบบการจัดการพลังงาน (BMS) : ระบบ BMS ในแบตเตอรี่ลิเธียมช่วยให้การใช้งานพลังงาน

มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยป้องกันการชาร์จเกินและการคายประจุจนหมด